วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น.

กิจกรรมวันนี้
   เริ่มด้วยอาจารย์มีการเปิดเพลงให้เพลง แต่นักศึกษาไม่ตั้งใจฟังทำให้อาจารย์พูดเกี่ยวกับเรื่องของการมีกาลเทศะ จึงทำให้อาจารย์ถามนักศึกษาว่าขณะที่ฟังเพลงมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง นักศึกษาได้แสดงความคิดว่า ไม่ได้ยินเสียงเพลง ,เพื่อนคุยกัน เป็นต้น
  อาจารย์ก็มีการสรุปว่า การที่เราจะรับรู้ได้ดีนั้น ควรมีเครื่องมือ(Tools)ในการที่จะรับรู้ นั้นก็คือประสาทสัมผัสทั้ง 5 (The Five senses)

บทความของเพื่อน

1.เรื่อง "สอนลูกเรื่องปรากฎการณ์ทางธรรมชาติสำคัญอย่างไร"
   เด็กได้ทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การลงมือปฎิบัติจริง
2.เรื่อง"วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"
   เด็กจะได้ทักษะการสังกต การเปลี่ยนแปลง ว่าธรรมชาติพูดเกี่ยวกับอะไรบ้าง เช่น ดิน(Earth) น้ำ(Water) อากาศ(Weather)
หิน(Stone) ท้องฟ้า(Sky) โดยเด็กๆได้ใช้ทักษะการสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก การคาดคะเน 

สรุปความลับของแสงเป็น Mind Map ดังนี้


การนำไปประยุกต์ใช้
    สามารถนำความรู้นี้ไปปรับใช้ได้ในอนาคต เช่นการสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยโดยการให้เด็กได้สังเกตจากสื่อ หรือการทดลองของเราที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก จะทำให้เด็กคิดและจินตนาการ รู้จักตั้งคำถาม และเกิดการสังเกต จากการทดลอง
ประเมินตนเอง
     ยังไม่ตั้งใจเรียนมากพอจึงทำให้ไม่เข้าใจในบ้างเรื่องที่อาจารย์ได้อธิบายในคาบเรียน
ประเมินเพื่อน 
     ตอนอาจารย์เปิดเพลงเพื่อนไม่ตั้งใจฟัง จึงทำให้บรรยากาศดูวุ่นวาย
ประเมินอาจารย์
     อาจารย์มีเทคนิคในการเชื่อมโยงเรื่องที่นักศึกษาไม่ฟังอาจารย์ อาจารย์ก็ตั้งความถามและอธิบายเชื่อมกับความรู้ทางการศึกษามีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน