วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7 

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
     สำหรับวันนี้อาจารย์ได้อธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องกังหัน(Turbine)เกี่ยวกับอากาศ(Air) ลม(Wind) ว่ากังหันหมุนหรือลอยตัว(Floating)ได้ช้าเพราะอะไรอาจารย์จึงให้ประดิษฐิ์กังหันลมที่ทำจากกระดาษหรือวัสดุที่หาได้ง่ายโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ดังรูป


ดังนั้นอาจารย์แบ่งให้แต่ละแถวตัดกระดาษ ไม่เท่ากันเพื่อดูความแตกต่างการหมุนและการลงของแต่ละกลุ่ม
แถวที่ 1 จะตัดกระดาษยาวกว่าแถวอื่นจึงทำให้แถวที่ 1 มีการหมุนมากกว่าแถว2แถว3 เพราะใบกังหันในแถวที่1มีใบกังหันที่ยาวกว่าแถวที่2และ3
แถวที่ 2 จะตัดกระดาษเท่ากับแถวที่1 จะมีหมุนบ้างไม่หมุนบ้างเกิดจาก
1.วิธีการโยน
2.การตัดกระดาษ
3.การพับใบกังหัน
4.การลง
แถวที่ 3 ตัดกระดาษครึ่งหนึ่งของแถวที่ 1 และ 2 จะหมุนน้อยรอบหรือไม่มีการหมุนเลยเกิดจาก
1.มีการตัดกระดาษใบพัดที่สั้นกว่าแถว1และ2
2.วิธีการโยนของแต่ละคน
แถวที่ 4 มีการแก้ไขกังหันให้หมุนโดยการนำเอาข้อผิดพลาดของแต่ละแถวมาปรับใช้ ดังนั้นกลุ่มที่4 มีการโยนและการตัดกระดาษให้ดีขึ้นกว่ากลุ่มอื่นๆ กลุ่ม4 จึงมีการหมุนของกังหันดีกว่ากลุ่ม 1และ3
สรุป
 ถ้าตัดกระดาษที่แตกต่างก็จะเกิดรูปแบบที่แตกต่างกันไป 
การหมุน(Rotation)เกิดขึ้นจาก
เมื่ออากาศมีการเคลื่อนที่จึงทำให้เกิดลม
กังหันหมุนเพราะเกิดจากแรงเหวี้ยงของเรา 
กังหันลงช้า เพราะมีอากาศอยู่ใต้ใบกังหันทำให้เกิดทรงแรงต้าน
บทความเพื่อน
คนที่ 1 สะกิดให้ลูกคิดแบบวิทยาศาสตร์ 
ขั้นตอนการคิดจากวิทยาศาสตร์
1.การมีส่วนรวม
2.สำรวจให้ลูกแสวงหาด้วยตนเอง
3.อธิบายให้ลูกวิเคราะห์ สำรวจ ตรวจสอบ โครงสร้างของปัญญา
4.รายละเอียด ให้ลูกเชื่อมโยงและขยายความรู้ที่ได้มา
5. ประเมิน
คนที่ 2 สนุกสนานเรียนรู้กับวิทยาศาสตร์
ได้ใช้ความรู้แบบสืบเสาะเด็กได้รับประสบการณ์ตรง
1.ขั้นนำ สนทนาและตั้งคำถาม
2.ขั้นสอน สืบค้น สำรวจ ตรวจสอบและเก็บรวบรวมข้อมูล
3.ขั้นสรุป เด็กนำเสนอผลงาน เด็กค้นพบคำตอบด้วยตนเอง
คนที่ 3 เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
1.ส่งเสริมการฝึกให้เด็กสังเกต
2.การปลูกฝังเจตคติที่ดี 
3.การให้เด็กสังเกตและทดลองและไปสำรวจ 
4.สร้างชิ้นงานด้วยตนเอง
5.จัดนิทรรศการเอง
ุ6.บูรณาการกับวิชาอื่น
คนที่ 4 หลักสูตรปฐมวัยจำเป็นหรือไม่ควรจัดยังไงให้ตรงกับหลักสูตรคือมวลประสบการณ์
คนที่ 5 ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก
   อาจารย์ให้ทำกิจกรรมโดยนำเอาแกนกระดาษเช็ดชูมาตัดแบ่งครึ่งแล้วเจาะรู สอดเชือก เสร็จแล้วอาจารย์ให้ตัดกระดาษเป็นวงกลมแล้ววาดรูปตามที่ตนเองสนใจ
ดังรูป



ท้ายคาบอาจารย์ก็ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเขียนแผน
ความรู้ที่ได้รับ
   ได้เทคนิคในการประดิษฐ์สื่อจากวัสดุใกล้ตัวเพื่อนำเอาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และได้รู้ว่าวิทยาศาสตร์เด็กๆก็สามารถเรียน เข้าใจ และลงมือปฏิบัติจริงได้
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังอาจารย์ และเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาอัพลงบล็อก
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจแสดงความคิดเห็น ถามคำถาม และแบ่งปันอุปกรณ์
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนเข้าใจง่าย ละเอียด และนำความรู้ใหม่ๆมาเล่าให้นักศึกษาทำความเข้าใจ และมีการยกตัวอย่างทำให้เข้าใจได้ง่าย