วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน 
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น.

กิจกรรมในวันนี้
   กิจกรรมวันนี้อาจารย์ให้เพื่อนคนที่ยังไม่ออกมานำเสนอโทรทัศน์ครูกับวิจัยให้ออกมานำเสนอ ดิฉันก็นำเสนอในวันนี้ "โทรทัศน์"

สรุปโทรทัศน์ครู เรื่อง"ความแข็งของวัตถุ"
คุณครู อาทิตยา นุราฤทธิ์
โรงเรียนอนุบาลปรินายก

    คุณครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ในชีวิตประจำวันมาให้เด็กๆมาจำแนก เช่น รถไฟของเล่น ผ้า โฟม เครื่องปั้นดินเผา ดินสอ และอื่นๆ โดยนำมาให้เด็กๆจำแนกว่าวัสดุที่นำมาเป็นวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุสังเคราะห์ ตัวอย่างเช่น วัสดุสังเคราะห์ รถไฟของเล่นที่ทำจากโลหะ ผ้า โฟม วัสดุที่เป็นธรรมชาติ ดินสอ เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น เสร็จแล้วคุณครูให้เด็กแบ่งกลุ่ม แล้วให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนพร้อมนำวัสดุที่กลุ่มตนเองเตรียมมา ออกมาทดลองกับกลุ่มเพื่อนว่าวัสดุของกลุ่มไหนมีความแข็งของวัตถุมากกว่ากัน เช่น กลุ่มก้อนหินและกลุ่มเข็มหมุด เมื่อเอาวัสดุสองชิ้นนี้มาถูหรือมาขูดกันแล้วผลที่เกิดคือก้อนหินเกิดเป็นรอยส่วนเข็มหมุดไม่มีรอยใดๆ ผลสรุปก็คือเข็มหมุดมีความแข็งมากกว่าก้อนหิน


เสร็จแล้วอาจารย์ให้ทำแผ่นผับของหน่วย

ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อย และออกไปนำเสนอโทรทัศน์ครูแบบตั้งใจและศึกษามาอย่างดี ร่วมกันกับเพื่อนทำแผ่นผับอย่างตั้งใจ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจฟังและช่วยกันคิดโรงเรียนของแต่ละหน่วยอย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีเทคนิคในการสอนโดยเจาะลึกในแต่ละจุดเพื่อที่จะให้นักศึกษาเข้าใจอย่างว่าเกิดจากอะไรและควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไรเวลาเกิดปัญหาแบบเดียวกัน



วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน 
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น.


กิจกรรมในวันนี้
     อาจารย์ถามเกี่ยวกับการเขียนแผนการสอนว่ามีปัญหาอะไรบ้างโดยอาจารย์ให้คำแนะนำว่า การเขียนแผนควรเขียนใส่กระดาษธรรมดาก่อนแล้วถ้าถูกต้องค่อยมาเขียนใส่แผ่นจริง
กิจกรรมต่อไปอาจารย์ให้นำสื่อนำมาจัดประเภทว่าสื่อละชิ้นอยู่ประเภทอะไร โดยมีหมวดดังนี้ เสียง แสง อากาศ น้ำ จุดสมดุล
สื่อของดิฉิน ชื่อกลองแขกจิ๋ว  จัดอยู่ในหมวดของเสียง




กิจกรรมต่อมา
อาจารย์ได้จัดเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำหวานเย็นดังนี้



อุปกรณ์(tool)
1.น้ำเปล่า
2.น้ำเฮลซ์บลูบอย
3.น้ำร้อน
4.กรวย
5.กระชวน
6.หยังยาง
7.ถุง
8.น้ำแข็ง
9.หม้อ
10.เกลือ

วิธีทำ(formula)
1.น้ำหวานผสมน้ำเปล่าแล้วค้นให้เข้ากัน
2.ตักน้ำหวานใส่ถุงแล้วมัดให้แน่น
3.นำลงไปในหม้อแล้วนำเอาน้ำแข็งลงไปด้วย
4.นำเกลือตามลงไป
5.ปิดฝาหม้อหมุนไปมาให้เกลือกับน้ำแข็งรวมกัน
6.ก็จะได้หวานเย็น

สรุป
   กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสสารจากของเหลวกลายเป็นของแข็งโดยเกิดขึ้นเมื่อของเหลวนั้น สูญเสียพลังงานความร้อน เช่น น้ำ ที่เปลี่ยนแปลงสถานะมาเป็น น้ำแข็ง โดยของแข็งสามารถเปลี่ยนสถานะกลับมาเป็นของเหลวได้ ถ้าหากได้รับพลังงานความร้อน


การนำไปประยุกต์ใช้
  สามารถนำไปจัดการเรียนการสอนในแผนประสบการณ์สอนได้
ประเมินตนเอง
  วันนี้ไม่ได้เข้าเรียน
ประเมินเพื่อน
  เพื่อนทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์
  อาจารย์สอนอย่างสนุกสนาน ไม่เครียด ได้ทั้งความรู้และความสนุกสนานพร้อมกัน


วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น.

กิจกรรมวันนี้
   วันนี้อาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำขนม Waffle โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการทำดังนี้

อุปกรณ์(Equipmentดังภาพ


ขั้นตอน(step)

1.เตรียมแป้งใส่ถ้วยไว้
2.เทนมใส่ลงไปแล้วตีให้เข้ากัน
3.เทไข่ที่เตรียมไว้ลงไป
4.เทน้ำเปล่าลงเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ขนมแข็งเกินไปแต่ถ้ามากไปก็จะไม่สามารถทำขนมได้เพราะมันจะเหลวเกินไป
5.เทเนยที่เตรียมไว้ลงไป
        6.ตีให้เข้ากันแล้วตักใส่ถ้วยเล็กที่เตรียมไว้        
7.นำมาร์การีนมาทาที่เครื่องทำWaffleพอเครื่องร้อนก็เทแป้งลงไป
รอประมาณ 3-4 นาที
หน้าตาของขนมCookingให้วันนี้

กิจกรรมต่อมา 

    เป็นการนำเสนอแผนหน่วยที่ยังไม่ผ่านในสัปดาห์ที่ผ่านมา 
หน่วยแรก คือหน่วยของดิฉันเอง  
         
"หน่วยดิน(soil)"


ขั้นนำ นำด้วยเพลง เพลงดินแล้วใช้คำถามๆเด็กว่า"ดินในเพลงนี้มีดินอะไรบ้าง"
ดิน ดิน ดิน ดินมีหลายชนิด
ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย (ซ้ำ)
เด็กๆลองทาย มีดินอะไร
ขั้นสอน
1.ถามเด็กๆว่านอกจากดินที่อยู่ในเพลงเด็กๆรู้จักดินอะไรอีกบ้าง
2.บันทึกเป็น My Map 
3.ให้เด็กสัมผัสดิน แล้วให้เด็กนับจำนวนดินที่ครูเตรียมมาแลัวแทนค่าด้วยตัวเลขฮินดรูอารบิค 
4.ขอตัวแทนเด็กออกมาหยิบดินออกที่ละ 1:1 จากนั้นให้เด็กสังเกตว่า
ดินที่เหลืออยู่แสวงว่ามีจำนวนที่มากกว่าส่วน
ดินที่หมดก่อนแสดงว่ามีจำนวนที่น้อยกว่า
ขั้นสรุป คุณครูและเด็กร่วมกันสรุปชนิดของดินและร้องเพลงดิน

หน่วย"สับปะรด(pineapple)"



สรุป เพื่อนยังไม่ค่อยเข้าใจในการสอน อาจารย์เลยให้ไปเรียงลำดับขั้นตอนในการสอนมาใหม่

การนำไปประยุกต์ใช้
  การทำกิจกรรมในวันนี้สามารถนำไปใช้สอนเด็กปฐมวัยได้ในอนาคตข้างหน้า โดยเด็กจะได้เกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ในการเดินหยิบจับสิ่งของ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตาดู หูฟัง ปากชิมรส จมูกดมกลิ่น มือจับสัมผัส มีการประสานระหว่างตากับมือไปพร้อมกันทำให้เด็กได้ทักษะหลายด้านด้านภาษาในการสื่อสาร ด้านคณิตฯการปริมาณตักตวง คำนวณ ด้านวิทยาศาสตร์การสังเกตการเปลี่ยนแปลงของแป้งหรือสิ่งของเวลาถูกความร้อน สุขศึกษา การทำความสะอาดร่างกายหลังทำกิจกรรมเสร็จ เป็นต้น
ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อยและเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง กิจกรรมวันนี้ทำให้เกิดการเรียนในหลายเรื่องและยังสามารถไปปรับสอนให้กับเด็กในอนาคตได้อีกด้วย
ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ในความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีความสามัคคีในกลุ่มช่วยกันทำช่วยกันเก็บ
ประเมินอาจารย์ 
กิจกรรมในวันนี้อาจารย์มีการวางแผนในการทำกิจกรรมและอธิบายการทำอย่างเป็นขั้นตอน สรุปกิจกรรมให้นักศึกษารู้ถึงปัญหาและสิ่งที่ไม่ควรทำหรือสิ่งที่ควรทำ

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น.

กิจกรรมวันนี้
   กิจกรรมในวันนี้อาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่เหลือจากสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ยังไม่ได้สอนแผนออกมานำเสนอโดยมีกลุ่มดังต่อไปนี้

หน่วย"สับปะรด"
  

หน่วย"ส้ม"


หน่วย"ทุเรียน"


หน่วย"มดแดง"


สรุปกิจกรรม โดยหน่วยเพื่อนแต่ละหน่วยต่างก็มีปัญหาที่เหมือนและก็ต่างกันออกไป บางกลุ่มอาจจะสอนไม่ตรงกับหน่วยที่ตนเองได้รับ บางกลุ่มใช้คำถามที่ยากเกินไปและใช้คำถามที่ปิดกันจินตนาการของเด็กทำให้เด็กไม่เกิดความคิดหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองแต่ปัญหาของแต่ละกลุ่มที่เหมือนกันคือการเรียงลำดับการนำเสนอไม่ถูกต้องคือใช้คำถามข้ามไปข้ามมา ถามวกไปวนมา จึงทำให้เข้าใจยากและได้ความรู้ไม่มาก

กิจกรรมต่อไป

ไข่หลุม


   วันนี้อาจารย์จะสอนการจัดกิจกรรมที่ถูกต้อง โดยสอนทำไข่หลุมโดยอาจารย์จะแบ่งนักศึกษาออกเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มต่างก็มีหน้าที่แตกต่างกัน

กลุ่มที่ 1 ตัดกระดาษรองถ้วย


กลุ่มที่ 2 หั่นผัก แครอท หอม ปูอัด


กลุ่มที่ 3 ตอกไข่ที่ละ 5 ฟอง


กลุ่มที่ 4 ใส่เครื่องปรุงและส่วนผสม


กลุ่มที่ 5 ดูแลผลิกไข่


อุปกรณ์ (equipment)
1.ไข่ไก่ (egg)
2.แครท(carrots) หอม(aromatic) ปูอัด(Crab) ข้าว(rice)
3.น้ำปลา ซอล แม็กกี้
4.เนย(butter)
5.ช้อน ซ้อม ถ้วย 
6.มีด เขียง กรรไกร กระทะหลุม
7.กระดาษ (paper)

วิธีทำ 
1.หั่นผัก ตัดกระดาษลงแก้วให้เรียบร้อย
2.ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วตีไข่ให้แตก
3.เอาข้าว แครท ปูอัด หอมและใส่ปรุงเครื่องตามใจชอบ
4.ทาเนยใส่กระทะเพื่อที่จะไม่ให้ไข่ติดเทไข่ลงไปในกระทะ
5.พริกไข่ไปมาจนสุก

สรุป ให้แต่กลุ่มเปลี่ยนหน้าที่กันวนไปเรื่อยๆจนครบทุกกลุ่ม
ปัญหาที่เกิด ถ้าหากใส่ข้าวหรือส่วนผสมมากกว่าไข่จะทำให้ไข่หลุมนานสุกหรือไม่สุกเลย

การนำไปประยุกต์ใช้
    การทำกิจกรรมในครั้งนี้สามารถนำไปแบบอย่างในการจัดกิจกรรมในการสอนแผนได้ ทำให้เรียงลำดับขั้นตอนในการสอนทำให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง มีการระดมความคิดการเรียงลำดับขั้นตอนของการทำไข่หลุมว่าควรเริ่มจากอะไรแล้วจบด้วยอะไรหรือทำอะไรก่อน-หลัง

ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อยและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน มีความสนุกสนาน ตื่นเต้น ได้ทั้งความรู้ในการสอนแผนและความอร่อยของอาหารที่เราทำด้วยตัวเอง
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อยให้ความร่วมมือกันทุกคน และสนุกสนานในการทำอาหาร
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนให้นักศึกษาคิดและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ว่าการจัดกิจกรรมแบบไหนที่จะทำให้เด็กให้ความสนใจ ให้เด็กได้รับทั้งความรู้และความสุขสนุกกับการทำกิจกรรม 

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น.

กิจกรรมวันนี้
    สำหรับวันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนแผนการสอนและเอาตัวอย่างแผนของอาจารย์มาให้นักศึกษาดูเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขและอาจารย์สอนวิธีการเรียงแผนการสอนที่ถูกต้อง ดังนี้
1.กรอบมาตรฐาน
2.สาระที่ควรเรียนรู้
3.แนวคิด(concept)
4.เนื้อหา(material)
5.ประสบการณ์สำคัญ
6.บูรณาการ(Integration)
7.กิจกรรมหลัก
8.วัตถุประสงค์(objective)

ต่อด้วยนำเสนอแผนการสอนของกลุ่มเพื่อนดังนี้

หน่วย กบ(frog)








 หน่วย ข้าว(rice)



หน่วย ไข่(egg)


หน่วย กล้วย(banana)


สรุป การนำเสนอของเพื่อนแต่ละกลุ่มก็มีความแตกต่างกันออกไปตามหน่วย
  • หน่วยกบ ก็สอนเกี่ยวกับ วัฎจักรของกบโดยบอกลักษณะของกบ
  • หน่วยข้าว ก็สอนทำชูชิ หลากหลายหน้า หน้าหมู หน้าไก่ 
  • หน่วยไข่ ก็สอนทำไข่เจียว โดยมีการสาธิตให้ดู
  • หน่วยกล้วย ก็สาธิตวิธีการทำกล้วยฉาบ

การนำไปประยุกต์ใช้
   สามารถนำความรู้ในวันนี้ไปใช้ในอนาคตข้างหน้า ทั้งเทคนิคการเขียนแผนการสอน เทคนิคการสอนของเพื่อนโดยมีการชี้แนะของอาจารย์เพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์มากขึ้น

การประเมิน(Evaluate)
ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อยและตั้งใจฟังอาจารย์และเพื่อนนำเสนอแผนการสอน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อยและตั้งใจทำให้ดีที่สุด
ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย มีการชี้แนะและอธิบายวิธีการสอนแผนว่าควรใช้คำถามแบบใด พูดอย่างไร มีขั้นตอนการเรียงลำดับคำพูดอย่างไร 







วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น.


กิจกรรมวันนี้
   สำหรับวันนี้อาจารย์ได้ทบทวนความรู้ที่เรียนมา เกี่ยวกับเรื่องของคณิตศาสตร์และภาษาซึ่งเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐานโดยมีการทำการทดลองดังนี้

กิจกรรม 1  เรื่องอากาศ(air)



อุปกรณ์(equipment)
1.เทียน 
2.ไม้ขีดไฟ 
3.แก้วน้ำ 
4.ถ้วย
วิธีทำ นำไม้ขีดจุดไฟใส่เทียนตั้งไว้ นำเอาแก้วน้ำมาครอบเทียนที่จุด
ผลที่เกิด ทำให้ไฟดับ
สรุป ถ้าที่ใดที่มีออกซิเจนจะทำให้ไฟไม่ดับ แต่ถ้าที่ใดมีสารอื่นนอกจากออกซิเจนจะทำให้ไฟดับ เช่นสารคาร์บอนไดออกไซด์และสารอื่นๆ

กิจกรรม 2 เรื่องคณิตศาตร์(mathematics)


อุปกรณ์(equipment)
1.กระดาษ
2.โถ่ใส่น้ำ
วิธีทำ อาจารย์ให้กระดาษคนละแผ่นแล้วนำมาพับเข้า 2 ครั้ง เสร็จแล้วฉีกกระดาษให้เป็นรูปโค้งแล้วพับเข้า นำเอาไปลอยน้ำ
ผลที่เกิด กระดาษที่พับไว้มีการคายตัวออก
สรุป น้ำค่อยๆซึมเข้าไปในกระดาษจึงทำให้กระดาษคี่ออกและจะจมหรือไม่จมขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของวัตถุ
ลอย=>ความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
จม=>ความหนาแน่นมากกว่าน้ำ

กิจกรรมที่ 3 เรื่องการลอยการจม


อุปกรณ์ (equipment)
1.ดินน้ำมัน
2.โถ่ใส่น้ำ
3.ลูกแก้ว
ผลที่เกิด วัตถุบางชนิดอยู่เหนือผิวน้ำได้ สาเหตุเพราะ
:วัตถุที่ลอยน้ำได้เพราะมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
:วัตถุที่ลอยน้ำได้แสดงว่าน้ำหนักวัตถุจะกดลงสู่พื้นโลกในขณะที่น้ำจะดันวัตถุให้ลอยขึ้นด้วยแรงเท่ากัน

กิจกรรมที่ 4 เรื่องน้ำ


อุปกรณ์ (equipment)
1.น้ำ
2.ขวดน้ำ
วิธีทำ นำขวดน้ำมาเจาะรูแล้วเทน้ำใส่ขวดทำให้เกิดน้ำไหลแต่พอปิดฝาขวดทำให้น้ำหยุดไหล

สรุป เพราะไม่มีอาการเข้ามาแทนที่ 

กิจกรรมที่ 5 เรื่อง การไหลของน้ำ


อุปกรณ์(equipment)
1.สายยาง
2.ขวดน้ำ
3.ดินน้ำมัน
สรุป คุณสมบัติของน้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ฉะนั้นการไหลของน้ำที่เราทดลอง ถ้าเอาไว้ในระดับเดียวกันจะทำให้น้ำไม่พุ่งออก แต่ถ้าเอาสายยางวางลงต่ำจะทำให้น้ำพุ่งออก

การนำไปประยุกต์ใช้
    ความรู้ที่ได้รับในวันนี้สามารถนำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยได้ในอนาคตข้างหน้าเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเรื่องวิทยาศาตร์และบูรณาการกับวิชาอื่นๆเพื่อที่จะให้เด็กเกิดการเชื่อมโยงสิ่งหนึ่งไปหาอีกสิ่งหนึ่ง


วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น.


    สำหรับวันนี้เก็บตกเพื่อนๆคนที่ยังไม่นำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ที่ไม่ได้ทำในสัปดาห์ที่ผ่านมา







เสร็จแล้วอาจารย์ให้นั่งจับกลุ่มเขียนแผน สำหรับกลุ่มดิฉันหน่วย"ดิน"มีการแก้ไขแผน
1.ชนิด(Type) 
2.ลักษณะ(Characteristics)
3.ส่วนประกอบ(Components)
4.ประโยชน์(Benefits)
5.ข้อควรระวัง(Caution)

         My Mapping Pineapple




ประเมินตนเอง 
  แต่งกายเรียบร้อยและตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายการเขียนแผน
ประเมินเพื่อน
  เพื่อนก็มีการแสดงความคิดเห็นและพูดคุยกันปรึกษาหารือกัน
ประเมินอาจารย์
  อาจารย์มีการอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนทำให้ไปแก้ไขการเขียนให้มีความถูกต้องมากขึ้น