วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น.

กิจกรรมวันนี้
   กิจกรรมในวันนี้อาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่เหลือจากสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ยังไม่ได้สอนแผนออกมานำเสนอโดยมีกลุ่มดังต่อไปนี้

หน่วย"สับปะรด"
  

หน่วย"ส้ม"


หน่วย"ทุเรียน"


หน่วย"มดแดง"


สรุปกิจกรรม โดยหน่วยเพื่อนแต่ละหน่วยต่างก็มีปัญหาที่เหมือนและก็ต่างกันออกไป บางกลุ่มอาจจะสอนไม่ตรงกับหน่วยที่ตนเองได้รับ บางกลุ่มใช้คำถามที่ยากเกินไปและใช้คำถามที่ปิดกันจินตนาการของเด็กทำให้เด็กไม่เกิดความคิดหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองแต่ปัญหาของแต่ละกลุ่มที่เหมือนกันคือการเรียงลำดับการนำเสนอไม่ถูกต้องคือใช้คำถามข้ามไปข้ามมา ถามวกไปวนมา จึงทำให้เข้าใจยากและได้ความรู้ไม่มาก

กิจกรรมต่อไป

ไข่หลุม


   วันนี้อาจารย์จะสอนการจัดกิจกรรมที่ถูกต้อง โดยสอนทำไข่หลุมโดยอาจารย์จะแบ่งนักศึกษาออกเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มต่างก็มีหน้าที่แตกต่างกัน

กลุ่มที่ 1 ตัดกระดาษรองถ้วย


กลุ่มที่ 2 หั่นผัก แครอท หอม ปูอัด


กลุ่มที่ 3 ตอกไข่ที่ละ 5 ฟอง


กลุ่มที่ 4 ใส่เครื่องปรุงและส่วนผสม


กลุ่มที่ 5 ดูแลผลิกไข่


อุปกรณ์ (equipment)
1.ไข่ไก่ (egg)
2.แครท(carrots) หอม(aromatic) ปูอัด(Crab) ข้าว(rice)
3.น้ำปลา ซอล แม็กกี้
4.เนย(butter)
5.ช้อน ซ้อม ถ้วย 
6.มีด เขียง กรรไกร กระทะหลุม
7.กระดาษ (paper)

วิธีทำ 
1.หั่นผัก ตัดกระดาษลงแก้วให้เรียบร้อย
2.ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วตีไข่ให้แตก
3.เอาข้าว แครท ปูอัด หอมและใส่ปรุงเครื่องตามใจชอบ
4.ทาเนยใส่กระทะเพื่อที่จะไม่ให้ไข่ติดเทไข่ลงไปในกระทะ
5.พริกไข่ไปมาจนสุก

สรุป ให้แต่กลุ่มเปลี่ยนหน้าที่กันวนไปเรื่อยๆจนครบทุกกลุ่ม
ปัญหาที่เกิด ถ้าหากใส่ข้าวหรือส่วนผสมมากกว่าไข่จะทำให้ไข่หลุมนานสุกหรือไม่สุกเลย

การนำไปประยุกต์ใช้
    การทำกิจกรรมในครั้งนี้สามารถนำไปแบบอย่างในการจัดกิจกรรมในการสอนแผนได้ ทำให้เรียงลำดับขั้นตอนในการสอนทำให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง มีการระดมความคิดการเรียงลำดับขั้นตอนของการทำไข่หลุมว่าควรเริ่มจากอะไรแล้วจบด้วยอะไรหรือทำอะไรก่อน-หลัง

ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อยและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน มีความสนุกสนาน ตื่นเต้น ได้ทั้งความรู้ในการสอนแผนและความอร่อยของอาหารที่เราทำด้วยตัวเอง
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อยให้ความร่วมมือกันทุกคน และสนุกสนานในการทำอาหาร
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนให้นักศึกษาคิดและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ว่าการจัดกิจกรรมแบบไหนที่จะทำให้เด็กให้ความสนใจ ให้เด็กได้รับทั้งความรู้และความสุขสนุกกับการทำกิจกรรม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น